0
ระบบเศรษฐกิจ
- การเกษตร
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลช้างซ้ายส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น
- ยางพารา จำนวน 33,324 ไร่
- ปาล์มน้ำมัน จำนวน 5,038 ไร่
- ทุเรียน จำนวน 664 ไร่
- มังคุด จำนวน 242 ไร่
- เงาะ จำนวน 128 ไร่
- ลองกอง จำนวน 182 ไร่
ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์
6.2 การประมง
การประมงส่วนใหญ่ประชาชนจะประกอบอาชีพเลี้ยงปลา เลี้ยง ในบ่อซีเมนต์ ในบ่อดิน เช่น ปลานิล ปลากินพืช ปลาดุก เป็นต้น
6.3 การปศุสัตว์
มีการเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่ไว้บริโภคในครัวเรือน เหลือจากบริโภคจึงจะจำหน่ายภายในท้องถิ่น เช่น เป็ด ไก่ สุกร โค ปลาดุก กบ เป็นต้น และมีการปศุสัตว์ขนาดใหญ่เป็นระบบฟาร์ม ประกอบด้วย
- ฟาร์มเลี้ยงหมู จำนวน 42 แห่ง
- ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 12 แห่ง
6.4 การบริการ
การให้บริการในเขตเทศบาลตำบลช้างซ้าย จะเป็นลักษณะบริการทั่วไป ประเภทตลาดสด
ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีก สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
- ตลาดสด จำนวน 2 แห่ง
- ร้านสะดวกซื้อSeven eleven จำนวน 1 แห่ง
- ร้านค้าปลีก จำนวน 102 แห่ง
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 3 แห่ง
6.5 การท่องเที่ยว
ถ้ำเพชรราชา เป็นถ้ำหินปูนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยภายในถ้ำมีห้องโถงมีหินงอกหินย้อย ตั้งอยู่ในสำนักสงฆ์ถ้ำเพชรราชา หมู่ที่ 10 ตำบลช้างซ้าย อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
6.6 อุตสาหกรรม
ในเขตเทศบาลตำบลช้างซ้าย มีโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 4 แห่ง
- บริษัท ฟุกเทียนกรุ๊ป จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ผลิตปูนขาว
- บริษัท ศรีตรังอินดัทรี่จำกัด ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 กิจการยางพารา (รับซื้อน้ำยาง)
- โรงน้ำมรกต ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ผลิตน้ำดื่ม
- สหกรณ์โรงงานช้างคู่พัฒนา ตั้งอยู่หมูที่ 11 กิจการยางพารา
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
- สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 3 แห่ง
- ตลาดสด จำนวน 2 แห่ง
- ร้านสะดวกซื้อ Seven eleven จำนวน 1 แห่ง
- ร้านค้าปลีก จำนวน 102 แห่ง
องค์กรทางการเงินของหมู่บ้าน
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กทบ) จำนวน 12 กองทุน
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 12 กลุ่ม
- กองทุนสตรีหมู่บ้าน จำนวน 14 กลุ่ม
กลุ่มอาชีพ
- กลุ่มอาชีพทำเครื่องแกงสมุนไพร จำนวน 2 กลุ่ม
- กลุ่มผลิตยางแผ่นดิบ จำนวน 1 กลุ่ม
- กลุ่มพัฒนาสวนสงเคราะห์ จำนวน 1 กลุ่ม
- สหกรณ์โรงงานช้างคู่พัฒนา จำนวน 1 แห่ง
- กลุ่มปุ๋ยหมัก จำนวน 2 แห่ง
- กลุ่มผลิตไข่เค็ม จำนวน 1 แห่ง
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาชีพต่างๆ ในพื้นที่ตำบลช้างซ้าย ซึ่งประชาชนได้รวมตัวกัน แต่ยังไม่ได้
จดทะเบียนกลุ่มอาชีพ
6.8 แรงงาน
แรงงานในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเน้นทำเกษตรกรรม เนื่องจากบริบทของพื้นที่ยังเป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท และ บางส่วนเป็นเขตพื้นที่อุตสาหกรรม มีโรงงานในพื้นที่ ทำให้ประชาชนในช่วงวัยทำงาน สามารถใช้แรงงานในพื้นที่ได้ และบางส่วนมีแรงงานต่างด้าวใช้แรงงานด้านเกษตรกรรมและต่อเนื่อง